อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ (Safety Helmet)

ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันศรีษะ หรือหมวกเซฟตี้ (Safety Helmet)   

 
 

      

   อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ หรือหมวกเซฟตี้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยื่งหน้างานที่มีความเสี่ยงในการที่สิ่งของสามารถตกลงกระแทกศรีษะได้ เพื่อให้ทุกท่านเห็นความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันศรีษะหรือหมวกเซฟตี้ เราขอโชว์ตัวอย่างสถิติอุปเหตุที่เกิดกับศรีษะ เพื่อให้ทุกท่านตระหนักและเห็นความสำคัญหมวกเซฟตี้เพื่อให้ทุกท่านไม่ได้เป็นหนึ่งในสถิตินี้

 

จำนวนของอุปบัติเหตุและเสียชีวิต

 อุปบัติเหตุที่สามรถเกิดทางศรีษะเป็นอุปบัติเหตุที่น่ากลัวและสามารถเปลี่ยนชีวิตของคุณได้ทั้งชีวิต ดังนั้นเราจึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงการส่วมใส่ อุปกรณ์เซฟตี้ PPE ในการทำงานโดยเฉพาะ หมวกเซฟตี้ ตัวเลขอุปบัติเหตุและเสียชีวิตดังต่อไปนี้เป็นตัวเลขของอ้างอิงจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทุกท่านให้ถึง

ในปี 2012 อุปบัติเหตุมากกว่า 65,000 เคสเกิดขึ้นต่อวันจากอุปบัติเหตุทางศรีษะที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน (The 2015 edition of the National Safety Concil charbook, 2015) และในปีเดียวกันนั้นมีการเสียชีวิตจากอุปบัติเหตุทางศรีษะในที่ทำงาน 1,020 คน

ิิ

 อุปบัติเหตุทางศรีษะ หรือการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง (Traumatic brain injuries) สามารถส่งผลถึงชีวิตหรือพิการ ซึ่งในสหรัฐอเมริกา 30% ของผุ้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศรีษะเสียชีวิต (Hexarmor, 2019) และยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจของ the Bureau of Labor Statisitcs (BLS) โชว์ว่า 84% ของพนักงานที่เกิดอุบัติเหตุทางศรีษะเกิดจากไม่ได้ส่วมใส่หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้

 เราไม่อยากให้คุณตกอยู๋ในจำนวนสถิติอุปบัติเหตุนี้ ทางที่ดีที่สุดคือส่วมใส่อุปกรณ์ PPE หรือจัดหา อุปกรณ์ PPE ให้แก่พนักงานทุกกคนที่สามารถเกิดอุขัติเหตุในการทำงานได้ โดนเฉพาะอย่างยิ่งทางศรีษะ นอกจากนี้ในทุกโรงงานควรควรจะจัดหาป้ายเซฟตี้เกี่ยวกับส่วมใส่หมวกนิรภัย หมวกเซฟตี้ อุปกรณ์ PPE เพื่อเป็นการเตือนพนักงานทุกคนถึงความปลอดภัยก่อนจะเข้าไปทำงาน 

 

ความรู้เกี่ยวกับหมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัย

วัสดุของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ 

วัสดุในการใช้ทำหมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัยมีทั้งหมวก 3 อย่าง คือ ทำด้วยพลาสติก ไฟเบอร์กลาส และโลหะ

หมวกนิรภัยทำด้วยพลาสติก มีสองประเภท

PE (Polyethylene)

  • เหนียว ยืดยุนดี ทนทาน น้ำหนักเบา
  • ทนกรด และด่างอ่อน 
  • ไม่ทนน้ำมันและความร้อนที่อุณหภูมิสูง

PP (Polypropylene) 

  • เหนียว ยืดยุนดี ทนทานกว่าตัว โพลีเอทีลีน (PE) 
  • สามารถทนความร้อนได้

HDPE (High Density Polyethylene)

  • เป็นหมวกเซฟตี้ที่มีความเหนียว และยืดยุ่นดีกว่า ABS
  • เหมาะสำหรับ งานก่อสร้าง งานเกี่ยวกับเคมี งานเกี่ยวกับเไฟฟ้า 

ABS (Acrylonitrile butadiene styrene)

  • มีความแข็งแรง และกันกระแทกได้ดี ไม่เป็นรอยง่าย
  • ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
  • กันสารเคมีเช่น กรด แอลกอฮอล์ น้ำมัน ไฮโดริก

หมวกนิรภัยทำด้วยไฟเบอร์กลาส

    FRP (Fiberglass reinforced plastic)

  • น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานกว่า HDPE และABS
  • สามารถทนความร้อนได้ถถึง 500℃ 
  • สามารถกันสารเคมีเช่น กรด น้ำมัน 
  • สามารถรีไซเคิลได้
  • เหมาะสำหรับ โรงผลิตเหล็ก น้ำมัน หรืองานที่มีรังสีความร้อน 

  

ประเภท และANSI Classes ของของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ 

  หมวกนิรภัยมีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทจะผ่านการทดสอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ที่เหมาะสมกับหน้างานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ มาตราฐานของหมวกเซฟตี้มีทั้งหมด 5 มาตราฐาน ซึ่งได้แก่ Osha Standard, Ansi/Isea Z89.1 stamdard, En Standard, CSA Z94.1 Stardard และ มาตราฐาน มอก. แต่สำหรับบทความนี้ เราจะเน้นไปที่ มาตราฐาน ANSI/ ISEA Z89.1 ซึ่งเป็นของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากหมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัยส่วนมากจะได้รับ มาตราฐาน ANSI และยังไปที่ยอมรับไปทั่วโลก

  ANSI/ ISEA Z89.1 

     หมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัยที่ได้รับรองมาตราฐาน ANSI จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพหมวก ดังนี้

Force Tramsmission (เกี่ยวกับการกระเทก) หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยจะถูกทดสอบการกระแทกที่ สภาพอากาศเย็น 12 ประเภท และ สภาพอากาศร้อน 12 ประเภท โดยวัตถุที่ตกกระทบมีน้ำหนัก 3.6 กิโลกรัม จะถูกใช้เพื่อในการทดสอบการกระแทกที่ความเร็ว ณ จุดกระทบ 5.5 เมตร ค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งผ่านตัวหมวกไม่ควรเกิน 3780 N
Apex Penetration (เกี่ยวกับการกระเทก)  หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยที่เข้าทดสอบจะต้องทนต่อการเจาะของ วัตถุที่ใช้เจาะหมวกเซฟตี้ต้องมีน้ำหนัก 1.0 กิโลกรัม และจะพึ่งเข้าไปในบริเวณเส้นรอบวง ไม่เกินรัศมี 75mm จากกึ่งกลางของหมวก วัตถุที่ใช้ทดสอบการเจาะจะต้องไม่มีส่วนใดติดกับเนื้อหมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยที่เข้าทดสอบ
Flammability (เกี่ยวกับไฟ)

ด้านนอกของ หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยจะถูกพ่นไฟเป็นเวลา 5 วินาที ในอุณหภูมิ 800 - 900ºC  และต้องไม่ได้รับหรือมีร่องรอบขสงการเผาไหม้จากการทดสอบ

Electrical Insulation (เกี่ยวกับไฟฟ้า) หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยที่เข้าทดสอบจะต้องผ่านการทดสอบการต้านทานไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลด์ ในระยะเวลา 3 นาที และผลจะต้องไม่มีการรั่วของกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหมวก 

 

  หมวกเซฟตี้มี 2 ปรพเภท ได้แก่

  1.  ประเภทที่ 1: หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยจะถูกออกมาแบบมาเพื่อป้องกันการกระแทกจากด้านล่างถึงด้านบนของศรีษะ ซึ่งหมายความว่าสามารถกันกระแทกได้จากด้านบนเท่านั้น และไม่สามารถกันกระแทกด้านข้างได้
  2. ประเภทที่2: หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยประเภทนี้ถูกออกแบบให้ข่วยลดแรงกระจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ของศรีษะ

หมวกนิรภัยชนิด Class E

    Class E ย่อมากจาก Electrical แปลว่า เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีความหมายว่าหมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถถูกใช้เพื่อช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงได้

  • หมวกนิรภัยประเภทนี้ต้องทำการทดสอบความต้านทานแรงดันไฟฟ้า และได้ผ่านการทดสอบการต้านทานแรงดันไฟฟ้าที่ 20,000 โวลด์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 3 นาที
  • หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกทดสอบที่ 30,000 โวลด์ เพื่อทดสอบว่าไม่มีรอนการไหม้
  • หมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถต้านทานแรงเจาะ และเหมาะกับงานทีเกี่ยวกับไฟฟ้า

 

**หมายเหตุ** 

     หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ประเภทนี้สามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้ แต่อย่างไรก่อตามการป้องกันนี้ป้องกันเพียงแค่ศรีษะของผู้ใช้งานดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องส่วมใส่อุปกรณ์ PPE อื่นๆ ที่ป้องกันจากกระแสไฟฟ้า

 

หมวกนิรภัยชนิด Class G

    Class G ย่อมากจาก General ซึ่งมีความหมายว่าหมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถถูกใช้เพื่อช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำได้

  • หมวกนิรภัยประเภทนี้ จะถูกทำการทดสอบและผ่านการต้านทานแรงดันไฟฟ้าที่ 2,200 โวลด์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที
  • หมวกนิรภัยประเภทนี้สามารถต้านทานแรงเจาะ เหมาะสมกับ งานการสร้าง หรืองานทั่วไปที่มีความเสี่ยงที่ศรีษะจะได้รับการกระแทก

 

**หมายเหตุ** 

     หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ประเภทนี้สามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าแรงต่ำได้ แต่อย่างไรก่อตามการป้องกันนี้ป้องกันเพียงแค่ศรีษะของผู้ใช้งานดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องส่วมใส่อุปกรณ์ PPE อื่นๆ ที่ป้องกันจากกระแสไฟฟ้า

 

หมวกนิรภัยชนิด Class C

       Class C ย่อมาจาก (Conductive) ซึ่งมาความหมายว่าหมวกประเภทนี้จะไม่สามรถทนแรงดันไฟฟ้าได้ 

  • หมวกนิรภัยประเภทนี้ สามารถทนแรงกระแทกได้อย่างเดียว
  • โดยส่วนมากหมวกนิรภัยประเภทนี้ จะมีส่วนผสมของ อลูมิเนียม หรือโลหะ 
  • หมวกนิรภัยประเภทนี้จะไม่เหมาะกับหน้างานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เนื่องจากโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า

 

 ท้ายที่สุด หมวกเซฟตี้ /หมวกนิรภัยที่ได้รับมาตราฐาน ทั้ง ANSA/ISEA และอื่นๆ ควรจะต้องมีวันที่ผลิต วันที่ได้รับรับรอง ประเภท และ คลาส (E, G and C) ระบุภายในหมวก ดังนั้นก่อนใช้งานทุกครั้งควรตรวจสอบว่า ข้อมูลดังกล่าวได้มีรถบุในหมวกหรือไม่ 

 

วิธีดูแลรักษา หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัย

  1.  อายุการใช้งานของหมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยอยู่ที่ 5 ปี นับจากปีที่ผลิตซึ่งจะระบุอยู่ที่ตัวหมวก
  2. หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยควรถูกตรวจสอบทุกครั้งก่อนใข้งาน
  3. หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยที่จะนำไปใชเงานจะต้องไม่มีรอบร้าว รอยถลอก
  4. หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยควรถูกทำความสะอาดหลังจากใช้งานแล้ว
  5. หมวกเซฟตี้/ หมวกนิรภัยไม่ควรถูกทำความสะอาดด้วยสารละลาย หรือเคมีแรง

 

 

 

 

 

Reference

https://www.hexarmor.com/posts/the-hard-truth-about-safety-helmet-injuries-and-statistics

https://www.safety-helmet.com/safetyhelmet/fiberglass-safety-helmet.html 

https://safetyequipment.org/standard/ansiisea-z89-1-2014/

https://www.hexarmor.com/posts/understanding-safety-helmet-standards