อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Respirator)

อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ

 

อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันระบบหายใจมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น หน้ากากอนามัย, หน้ากาก N95, หน้ากากกันฝุ่น หรือหน้ากากป้องกันสารเคมี  ดังนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องจำต้องทำความรู้จักประเภทของหน้ากาก และแยกประเภทให้ได้ว่า เป็น หน้ากากป้องฝุ่น หน้ากากN95 หน้ากากกันสารเคมี ต่างกันอย่างไรเพื่อที่จะเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับหน้างาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งมาตรฐานจะมีแตกต่างกันออกไป เช่น NIOSH N95, EN149 FFP1,2,3 หรือมาตรฐาน GB KN95 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะช่วยในการอธิบายความแตกต่างของแต่ละมาตรฐาน

 

NIOSH ย่อมาจาก National Institute for Occupational Safety and Health เป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการวิจัย และเป็นผู้อนุมัติอุปกรณ์ช่วยป้องกันระบบหายใจให้กับ U.S OSHA

N95 – ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95%

N99 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99%

N100 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99.97%

 

R95 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95% กันน้ำมันได้

P95 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 95% กันน้ำมันได้ดีมาก

P99 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99% กันน้ำมันได้ดีมาก

P100 - ป้องกันฝุ่นละออง ทางอากาศ 99.97%

 

และเมื่อเทียบกันฝั่งทาง Europe มาตรฐาน EN149 จะแบ่งเป็น 3 ชนิด FFP1, FFP2, FFP3 แต่ระอันจะเหมาะสมใช้ในแต่ละหน้างาน

FFP1 – สามารถกรองได้ 80% ไม่สามารถกรองอนุภาคเคมีที่เป็นสารพิษได้

FFP2 – สามารถกรองได้ 94% สามารถกรองควัน ละอองที่เป็นพิษ

FFP3 – สามารถกรองได้ 99% สามารถกรองควัน ละอองที่เป็นพิษอันตราย เชื้อโรค ไวรัส กัมมันตภาพรังสี

 

นอกจากนี้ในยุคของช่วง Covid-19 ทำให้มาตรฐานของผู้ผลิตหน้ากากเป็นหลักอย่างประเทศจีน ได้มีมาตรฐาน GB2626-2006 เพื่อทดสอบเทียบเคียง หน้ากาก N95 หน้ากรองป้องกันสารเคมี ต่างๆ ตัวมาตรฐานได้เป็นที่ยอมรับในตลาดมากขึ้น และหลายประเทศใช้สินค้าที่ได้รับมาตรฐานนี้

KN90 – สามารถกรองได้ 90%

KP90 - สามารถกรองได้ 90% กันไอน้ำมันได้

KN95 –  สามารถกรองได้ 95%

KP95 -  สามารถกรองได้ 95% กันไอน้ำมันได้

KN100 - สามารถกรองได้ 99.97%

KP100 - สามารถกรองได้ 99.97% กันไอน้ำมันได้

 

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ

 เริ่มจากหน้ากากที่ใช้กรองมลพิษ (Air-Purifying Respirators APRs) โดยการกรองเช่น ฝุ่น ขวัน โลหะ หมอก ก๊าซ ไอระเหยเป็นต้น และต่อด้วย Supplied Air Respirators (SARs) อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจที่ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่น หรือเครื่องจ่ายอากาศ หรืออีกนัยนึง อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจนี้ ตัวกรองจะทำงานทำความสะอาดก๊าซพิษ สารเคมีในอากาศขณะที่คุณหายใจ 

  1.     หน้ากากครึ่งหน้า ป้องกันช่วงจมูกและปาก มีให้เลือกหลายวัสดุตามความชอบของผู้ใช้งานเช่น ยางธรรมชาติ และซีลิโคลน และมีให้เลือกทั้งแบบไส้กรองเดี่ยวและคู่ใช้ร่วมกับตลับกรองป้องกัน ไอระเหย กรดแก๊ส และอนุภาคอื่นๆ
  1.     หน้ากากป้องกันสารเคมีแบบเต็มหน้า จะป้องกันสารคเมีเต็มใบหน้าโดยปกติแล้วจะใช้ในงานที่มีสารเคมีอันตรายสูง หรือหน้างานที่อันตรายสูง ใช้ร่วมกับตลับกลองกันสารเคมีเช่นกัน 

            นอกจากนี้ สีของไส้กรองจะแยกออกดังนี้ตามมาตรฐาน NIOSH

หมายเหตุ:การเลือกใช้ไส้กรองให้เหมาะสมกับหน้างานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องรู้ว่า สารเคมี สารพิษ กรดแก๊ซ ฝุ่น ที่จะต้องเจอเป็นอย่างไรเพื่อเลือกใช้ไส้กรองและหน้ากากให้เหมาะสม และเพื่อความปลอดภัยที่สูงสุด

 

         3.    หน้ากากกระดาษครึ่งหน้า สำหรับใช้แล้วทิ้ง สามารถกรองฝุ่นละออง ไอระเหย กรด ก๊าซเจือจาง แต่ไม่สามารถป้องกัน ไอระเหย สารเคมีอันตรายได้ ยกตัวอย่างรุ่นดังนี้ หน้ากากN95 ของแบรนด์ 3M รุ่น 8210 และหน้ากากกันสารเคมี 3M รุ่น 8247

         4.   จะเรียกว่าเป็น Power Air purifying Respirators (PAPRS) หน้ากากจะครอบทั้งศรีษะ และมีเครื่องเป่าลม แบตเตอรี่ที่คอยดึงอากาศผ่านตัวกรอง

         5.   อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ที่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นส่งอากาศ Supplied Air Respirators (SARs)ซึ่งหมายความว่าอากาศที่ได้รับจะไม่ได้เป็นอากาศที่อยู่นบริเวณหน้างาน ตัวหน้ากากจะเป็นแบบเต็มหน้าและมีสายเชื่อมต่อเครื่องปั้มจ่ายอากาศ/ อากาศสะอาดในถังอัดอากาศ ส่วนมากจะเหมาะกับหน้างานที่ทำอยู่กับสารเคมี ไอระเหยเป็นเวลานา เช่น งานพ่นสี

         6.   อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ใช้ร่วมมกับถังอัดอากาศ Self Contained Apparatus (SCBA) การทำงานจะมีหน้ากากเต็มหน้าและตัวควบคลุมแรงดันอากาศจากถังไปยังหน้ากาก ตัวถังอากาศมีให้เลือกหลายวัสดุ แรงดันอากาศ แต่ในท้องตลาดจะนิยม ถังคาร์บอน 45 นาที เพราะมีน้ำหนักเบา และเหมาะสมกับหลายๆหน้างาน ส่วนมากจะถูกใช้สำหรับการกู้ภัย หรือเก็บกู้สารเคมี

         7.   ตัวสุดท้ายจะเป็นการรวมกันของตัว SCBA และตัวช่วยหายใจผ่านเครื่องส่งอากาศ ดังนั้นหากการจ่ายอากาศล้มเหลว จะมีตัวถังอากาศขขนาดเล็กสำลองใช้แทนได้ชั่วคราว

 

 

 

Reference

https://www.cdc.gov/niosh/npptl/topics/respirators/disp_part/default.html#:~:text=Surgical%20N95%20%E2%80%93%20A%20NIOSH%2Dapproved,least%2099.97%25%20of%20airborne%20particles.

https://www.uvex-safety.co.uk/en/knowledge/safety-standards/respiratory-protection/ 

https://www.tdi.texas.gov/pubs/videoresource/stptypesofrespi.pdf