อุปกรณ์ป้องกันเสียง (Hearing Protection)

Hearing Protection (อุุปกรณ์ป้องกันเสียง)

Rear view of a handyman wearing ear defender over his ear Free Photo

  อุปกรณ์ป้องกันเสียงควรถูกใช้เมื่อ มีการทำงานให้บริเวณที่มีเสียงสูงเกิน 85 decibels (A-weighted) หรือ dBA. หากทำงานในบริเวณที่มีเสียงเกิน 85 decibels อาจทำให้ส่งผลต่อการได้ยินในอนาคต ดังนั้นการเลือกที่อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสม และรู้จักวิธีใช้ที่ถูกต้อวจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

 

ข้อแตกต่างหลักของอุปกรณ์ป้องกันเสียงอยู่ทีี่องค์ประกอบหลัก ดังนี้:

  • ระดับของเสียงที่ต้องลดซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละหน้างาน
  • ความเหมาะสมของทั้งผู้ใช้งาน และสถานที่ทำงาน/ หน้างานที่ต้องเผชิญ
  • ส่วมใส่สบาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุุคคล 

 

การประเมินค่าเสียงที่ต้องลด

  ทางโรงงานจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบระดับเสียง ซึ่งจะมีค่าเป็น NRR (Noise Reduction Rating) หรือเป็น SNR (Single Number Rating) ระบบการประเมินค่าเสียงทั้งสองนี้ เป็นเหมือนตัวกลางบ่งบอกว่าอุปกรณ์ลดเสียงแต่ละชนิดสามารถมีประสิทธิภาพในการลดเสียงได้กี่ decibels ดังนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้งาน/โรงงาน เลือกอุปกรณ์ลดเสียงให้เหมาะสมกับหน้างานได้ดียิ่งขึ้น

ประเภทของเสียงมีรายละเอียด ดังนี้:

      1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (Continuuous Noise)

เสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Strady-state Noise) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงพัดลม เครื่องปั่นด้าย เป็นต้น

1.2 เสียงดังต่อเนื่องแบบไม่คงที่ (Non-state Noise) โดยมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10 เดซิเบล เช่น เครื่องเจียร เป็นต้น

      2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (Intermittent Noise)

เสียงที่ดังไม่ต่อเนื่อง เสียงที่เงียบและเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องสลับกันไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม หรือเสียงจราจร

      3. เสียงดังกระทบหรือกระแทก (Impact or Impulse Noise)

เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วดยมีการเปลี่ยนแปลงเสียงมากกว่า 40 เดซิเบล เช่น การทุบเคาะอย่างแรง

3.1 Impact Noise เสียงที่เกิดขึ้นในที่ที่มีเสียงสะท้อน เช่น เสียงโลหะกระแทกในห้อง

3.2 Impulse Noise  เสียงที่เกิดขึ้นในที่ที่ไม่มีเสียงสะท้อน เช่น เสียงดังใรที่โล่ง

 

ค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ของเสียง (Weighting) สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

A-Weighting ครอบคลุมช่วงความถี่ 20-20,000Hz จะใกล้เคียงกับความถี่ของหูมนุษย์มากที่สุด จึงเป็นสเกลที่ใช้ตรวจวัดค่าเสียงเพื่อประเมินอันตรายจากเสียงตามกฤหมาย หรือตามมาตรฐานเสียง การวัดระดับเสียงมีหน่วยเป็น dBA หรือ dB(A)
 
C-weighting ค่าถ่วงน้ำหนักความถื่ของเสียงในค่านี้ จะใช้วัดระดับเสีนงสูงสุด ซึ่งระดับเสียงตั้งแต่ 100 เดซิเบล ขึ้นไป จะทำให้หูของมนุษย์ไม่ตอบสนอง ดังนั้น C-weighting จะใช้ในการตรวจวัดเสียงจากเครื่องจักรโดยละเอียด การวัดระดับเสียงจะมีหน่วยเป็น dBC หรือ dB(C)
 
Z-weighting การตอบสนองความถี่ 10 Hz ถึง 20,000 Hz 1.5dB การวัดระดับเสียงจะมีหน่วยเป็น dBC (Z)
 
 
 
 
นอกจากนี้ นายจ้างจำเป็นต้องควบคุมค่าระดับเสียงในการทำงานที่ลูกจ้างจะได้รับเฉลี่ยในการทำงานแต่ละวัน (TIme Weighted Average-TWA) มิให้เกินตามมาตรฐานของทางอธิบดีได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการประกาศจากกรมสวัสดิการและควบคุมแรงงาน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 เมษา 2561

 

 

หมายเหตุ: โดยหน่วยที่ใช้วัดเสียงในการประกาศนี้ ใช้เป็นหน่วยวัดเดซีเบลเอ

 

Reference 

http://www.ratchakitcha.soc.go.th

https://datacenter.deqp.go.th/